พิธีหมั้น นับเป็นอีกพิธีสำคัญของการเริ่มต้นของคู่บ่าวสาวหลาย ๆ คู่ที่ต้องเข้าพิธีนี้เพื่อหลายสิ่งหลายอย่าง และเพื่อสืบทอดประเพณีอันดีงามนี้เอาไว้ วันนี้เราจะมาบอกเล่าถึงความหมายของพิธีนี้ และจุดประสงค์ของมันให้ได้รู้กัน
พิธีหมั้น คืออะไร จัดทำเพื่อจุดประสงค์ใด
พิธีนี้นับเป็นพิธีที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้ชาย และผู้หญิงคู่นี้มีคนจับจองแล้ว แต่ยังไม่ถึงกับแต่งงาน แต่เตรียมพร้อมที่จะแต่งงานกันในอนาคต ด้วยความไม่พร้อมหลายแระการที่ทำให้ไม่สามารถแต่งงานกันได้ทันที จึงต้องทำการหมั้นเอาไว้ก่อน เพื่อประกาศให้หลายคนได้รู้ถึงสถานะของคนสองคนนี้ ซึ่งมีหลายปัจจัยที่คนสองคนทำได้แค่หมั้นหมายกันไว้ เช่น ยังไม่มีฤกษ์แต่งงาน ยังไม่มีความพร้อมในการแต่งงานทั้งเรื่องของเงิน หรือระยะเวลาที่ทำการศึกษาดูใจ ซึ่งการหมั้นอาจจะเป็นเพียงการบอกว่ามีคนจอง แต่ไม่ได้ความว่าจะต้องแต่งงานเสมอไป เพราะก็มีหลายคู่ที่หมั้นแต่ไมได้แต่ง เพราะเมื่อศึกษากันไปยาว ๆ แล้วพบว่าไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันได้นั่นเอง

ข้อดีของการจัดพิธีหมั้น ก่อนแต่งงาน
เมื่อท่านได้เจอคนที่ท่านคิดว่าเขาจะเป็นดังคู่ชีวิตของท่าน แต่มันอาจจะเร็วไปที่จะแต่งงานการเข้าพิธีหมั้นจึงเป็นอีทางเลือกที่ดี ที่จะช่วยให้ท่านสามารถมีระยะเวลาที่จะมั่นใจได้ ซึ่งข้อดีของมันมีดังนี้
1. มีระยะเวลาให้ได้ดูใจ ดูความเข้ากันได้ของคนทั้งคู่ว่าสามารถจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันไปได้อีกนานไหม เพราะหลายคู่ที่ตัดสินใจแต่งงานแล้วก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ทำให้ต้องหย่าร้างกัน
2. สามารถคบหากันได้อย่างเปิดเผย และไม่เสียหายทั้งคู่ ไม่ว่าชาย หรือหญิงที่มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกัน หากไม่ได้แต่งงานกันก็ดูเสียหายในสายตาใครหลายคน การหมั้นจะทำให้สิ่งนี้บรรเทาไปได้มาก เพราะผู้ใหญ่หลายคนถือในเรื่องนี้เอามาก ๆ เลย
3. เพื่อรอฤกษ์ได้แบบมีเป้าหมาย อย่างที่บอกว่าหลายคนเชื่อเรื่องดวงชะตา จึงทำให้ไม่สามารถแต่งงานกันได้ งานหมั้นจึงเป็นสิ่งแก้เคล็ดได้ดี และไม่ทำให้ใครเสียหายด้วย หากจะต้องการใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันก่อนแต่ง
พิธีหมั้น นับเป็นขั้นตอนทางประเพณีที่โบราณนานมาได้ทำสืบทอดกันมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเอาทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงไปพูดในทางเสียหายได้ เพราะหลายครั้งที่คนสมัยใหม่ต่างไม่สนใจเรื่องนี้ แต่ก็ไม่วายที่จะถูกกล่าวถึงไม่ทางที่ไม่ดีได้
พิธีผูกผ้างานแต่ง จัดขึ้นเพื่ออะไร และมีความสำคัญอย่างไร ใครรู้จักพิธีนี้บ้าง แล้วเขาต้องทำกันอย่างไร วันนี้มีคำตอบมาฝากสำหรับผู้ที่กำลังแต่งงาน หรือ จะต้องจัดงานแต่งงานขึ้นในเร็ววันนี้ให้ได้เตรียมตัวกัน
พิธีผูกผ้างานแต่ง คืออะไร
พิธีผูกผ้างานแต่ง คือพิธีทางประเพณีที่มีการผู้ข้อไม้ข้อมือด้วยผ้าของผู้ใหญ่ที่นับเป็นสิ่งมงคล ซึ่งคนโบราณเชื่อว่าพิธีนี้จะเป็นการช่วยเสริม เติม ต่อให้คู่รักที่กำลังแต่งงานนั้น มีจุดเริ่มต้นที่เปรียบดังการมีทรัพย์สินที่มากมาย เพราะในสมัยก่อนผ้าเป็นสิ่งที่มีราคา หายาก เพราะเทคโนโลยีการผลิตยังไม่สามารถทำได้ดีเท่าปัจจุบัน การผูกผ้าจึงจัดขึ้นเพื่อให้พ่อแม่ ผู้ใหญ่ที่เคารพรักได้เข้ามาอวยพรด้วยผ้าที่ตนเองมี เพื่อเสริมให้คู่บ่าวสาวนั้นได้เสมือนมีทรัพย์มากมายใจการเริ่มต้นชีวิตคู่ ปละชีวิตครอบครัวต่อไปได้อย่างดี และเพื่อเป็นดังการกล่าวต้อนรับเขย และสะใภ้ด้วยความยินดี จึงมอบสิ่งที่มีค่าและเป็นของรักให้แทนคำพูดอีกด้วย พิธีนี้ในช่วงเวลาต่อ ๆ มาได้เลื่อนหายไป และลดน้อยลงตามความสะดวก

พิธีผูกผ้างานแต่ง มีข้อดีอย่างไร
เมื่อคู่บ่าวสาวได้เข้าร่วมพิธีผูกผ้างานแต่ง เพื่อเป็นไปตามประเพณีนั้น จะมีข้อดีมากมาย ดังนี้
1. ความเป็นสิริมงคล เพราะบ่าวสาวจะได้รับผ้าที่มอบมาจากผู้ใหญ่ที่เคารพรัก และมีพระคุณต่อทั้งคู่ เพื่อเป็นดังคำพูด และคำอวยพรที่ดี
2. เพื่อเป็นดังยาใจในรากฐานที่มั่นคง เพราะด้วยกุสโลบายที่แฝงมาด้วยพิธีนี้ จึงทำให้คู่บ่าวสาวมีแรง กำลังใจในการใช้ชีวิตคู่ที่ต้องช่วยกันทำมาหากิน และขยันขันแข็งให้มีทรัพย์สินเงินทองที่มากกว่าเดิม
3. เพื่อความรักใคร่กลมเกลียวของคนในครอบครัว เพราะเป็นเสมือนการกล่าวต้อนรับ ทำให้เขย หรือสะใภ้ รู้สึกว่าตนเองได้เป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวที่ได้แต่งงานด้วยนี้ จึงเกิดความรัก และความสามัคคีขึ้นกว่าเดิมทั้งจากสมาชิกใหม่ และจากคนในครอบครัวเดิม
พิธีผูกผ้างานแต่งนั้น นับเป็นพิธีที่ดี และเป็นพิธีที่ช่วยเสริมสร้าง และนับเป็นแรงใจที่ดีแก่คู่บ่าว สาว หรือผู้คนที่ได้เข้าร่วมด้วย เพราะพิธีนี้เห็นได้น้อยมากแล้ว และน้อยคนนักที่จะยังแต่งงานด้วยพิธีนี้ เพราะเป็นพิธีที่ไม่ค่อยสะดวก อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายมากในการจัดงานแบบนี้ จึงมีการประยุกต์การผูกผ้าจากผืนใหญ่เป็นผืนเล็ก ๆ แบบสายสิญจ์แทนด้วย ประเพณีนี้จึงหาชมได้อย่างยากยิ่งไปอีก
พิธีผูกข้อมือเป็นอีกพิธีที่คนไทยกระทำสืบต่อกันมาอย่างช้านาน เพราะว่ามันเป็นดังพิธีที่แฝงไปด้วยสิ่งดีดีมากมาย ที่จะทำให้คนที่เข้าร่วมทั้งคนที่เป็นผู้ผูกและคนที่เป็นคนผูกได้รับความรู้สึกดีดีกลับบ้านอย่างแน่นอน
พิธีผูกข้อมือ คืออะไร
พิธีผูกข้อมือ นั่นคือการนำสายสิญจน์สีขาว มาผูกไปที่ข้อมือ ของผู้ที่เข้าร่วมพิธี อาจจะทำได้ทั้งพิธีการแต่งงาน พิธีการต้อนรับเข้าบ้าน เข้าเมือง ซึ่งแต่ละภาค แต่ละจังหวัดก็มีความเชื่อ และแนวทางการปฏิบัติที่ต่างกันออกไป แต่ไม่ว่าจะปฏิบัติแบบไหน จุดประสงค์หลัก ๆ ก็คือการแสดงความยินดีต้อนรับ และต้องการอวยพรให้ผู้ที่โดนผูกข้อมือนั้นได้ประสบแต่สิ่งที่ดี และยังเป็นการแสดงถึงความยินดีต้อนรับเข้าสู่สถานที่นั้นของผู้ที่มาผูกด้วย

พิธีผูกข้อมือของแต่ละภาคทำอย่างไร
พิธีผูกข้อมือ ของแต่ละภาคนั้นอาจจะมีความแตกต่างกันออกไปตามโอกาส ซึ่งสามารถทำได้ตามภาคดังนี้
1. ภาคเหนือ จะใช้พิธีนี้ในงานแต่งงาน ซึ่งจะเรียกว่าพิธีฮ้องขวัญ หรือเรียกขวัญ เพื่อให้บ่าวสาวเกิดความมีสิริมงคล เพื่อเรียกสติให้กลับมาอยู่กับตัวเจ้าเรือน และเพื่อให้พ่อแม่ของแต่ละฝั่งได้มีโอกาสกล่าวต้อนรับ และแสดงความยินดีถึงการเป็นลูกเขย ลูกสะใภ้ด้วย ซึ่งจะทำหลังจากเจ้าบ่าวเจ้าสาวเสร็จพิธีสู่ขอเรียบร้อยแล้ว ก็จะมานั่งให้พ่อแม่ เติมหน้าผาก สวมมาลัยที่ข้อมือ และผู้ข้อมือต่อไป
2. ภาคกลาง ในส่วนของภาคนี้จะเป็นการผู้ข้อมือเพื่อพิธีแต่งงานได้ด้วยเช่นกัน เมื่อทำพิธีรับไหว้ที่คู่บ่าวสาว จะทำการกรอบลงที่หมอน 1 ครั้งเพื่อไหว้พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ และทำการยกพายที่ใส่สายสิญจน์เอาไว้เพื่อให้พ่อแม่ และญาติได้ทำการอวยพร พร้อมผูกข้อมือด้วย ซึ่งในพานจะมีธูป เทียนแพ เพื่อเป็นขอมาในสิ่งที่อาจจะเคยล่วงเกินและกระทำไม่ดีเอาไว้ได้
3. ภาคอีสาน ในภาคอีสานนี้พิธีการผูกข้อมือจะกระทำต่อหน้าบายศรี และมีพระสงฆ์เข้าร่วมพิธีด้วย ในการแต่งงานพระจะทำการสวดมนต์ให้พรและเรียกขวัญก่อน จากนั้นญาติผู้ใหญ่จะเข้ามาผูกข้อมือให้คู่บ่าวสาวที่ละคนต่อไป
พิธีผูกข้อมือนี้นับเป็นพิธีแห่งการอวยพร และเป็นพิธีมงคลที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มชีวิตของคู่บ่าวสาวด้วย เพราะว่าในพิธีการผูกข้อมือนั้น ส่วนมากแล้วจะกระทำจากผู้ใหญ่ที่น่านับถือ และกระทำด้วยจิตใจเมตตา ที่ต้องการให้ท่านที่รับการผู้ข้อมือได้รับพร และสิ่งดีดีต่อไป
อีกหนึ่งพิธีที่คนไทยให้ความสำคัญและสืบทอดอย่างพิธีบายศรีสู่ขวัญ โดยเฉพาะชาวอีสานและเหนือที่มักจะกระทำพิธีนี้ในโอกาสต่าง ๆ บ่อยครั้ง เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิตแก่ผู้ที่ได้เข้าร่วมพิธี และรวมถึงความรักใคร่กลมเกลียวกันด้วย
พิธีบายศรีสู่ขวัญ คืออะไร มีประวัติยังไง
พิธีบายศรีสู่ขวัญ คือพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านทั้งหลายต้องต่างเคยเข้าร่วมมาแล้ว และเชื่ออย่างยิ่งว่าท่านจะต้องอบอุ่นใจมากเมื่อผ่านพิธีนี้มาแล้ว เพราะพิธีนี้เป็นพิธีแห่งการกระทำที่เรียกได้ว่าทำเพื่อรับขวัญ คำว่าขวัญนี้ ในความเชื่อของคนไทยกล่าวง่ายได้ก็คือจิตใจ วิญญาณ สติของตัวบุคคลเอง ที่ช่วยให้ชีวิตได้ดำเนินไปอย่างราบลื่น เมื่อใดที่ขวัญหาย จะทำให้บุคคลนั้นอาจจะไม่ปลอดภัย หรือจิตใจเคว้งคว้างได้ เพื่อให้ขวัญได้กลับมาอยู่กับตัวดังเดิมจึงต้องมีการเรียกขวัญกลับมาด้วยพิธีทางศาสนา หรือพิธีตามความเชื่อที่มักกระทำด้วยคนที่มักเรียกตัวเองว่าหมอทำขวัญ การทำขวัญ หรือเรียกขวัญทำได้หลายโอกาส ทั้งทำในรอบปีช่วงชั้นปีใหม่ที่ลูกหลานมักจะกลับบ้านจากการทำงานไกล หรือนาคที่กำลังจะบวช ให้มีสติ และมีความมั่นใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไปได้ดี
ความสำคัญของพิธีบายศรีสู่ขวัญต่อความเชื่อของคนไทย
เชื่อได้ว่าพิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นอีกหนึ่งพิธีที่คนไทยให้ความสำคัญ พร้อมทั้งเชื่อมั่นและศรัทธาในพิธีนี้มาก ด้วยความเชื่อของเรื่อง ขวัญ ที่นับว่ามีผลต่อการดำรงชีวิตมาอีกส่วนหนึ่ง เพราะคนไทยหลายคนเชื่อว่าขวัญเปรียบได้ดังเทวดาที่อยู่เป็นเพื่อนเพื่อคุ้มครองตัวของเราให้รอดปลอดภัยจากภัยอันตรายต่าง ๆ ได้ อีกทั้งยังเชื่ออีกว่าขวัญนี้จะช่วยให้ชีวิตมีความราบลื่นได้เมื่อกระทำการใดใด ไม่ว่าจะเป็นนาคที่กำลังจะบวช คู่บ่าวสาวที่กำลังจะแต่งงาน ผู้ที่ต้องเดินทางจากบ้านไปไกล หรือแม้กระทั่งผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ หรือหตุการณ์ที่น่าตกใจมา ก็สามารถจัดพิธีนี้เพื่อเรียกขวัญให้ได้ด้วย
จะเห็นได้ว่า พิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นพิธีที่คนไทยหลายจังหวัดให้ความสำคัญ และมีความเชื่ออย่างยิ่งว่าชีวิตจะสามารถดำเนินต่อไปได้ดี หากได้ผ่านพิธีนี้ไปแล้ว อีกทั้งยังเชื่ออีกว่าสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ที่ประสบพบเจอมานั้นจะจางหายไป เมื่อได้ทำขวัญแล้ว หากใครที่มีความเชื่อเรื่องนี้ก็นับว่าไม่ใช่เรื่องที่เสียหาย เพราะว่าการทำพิธีนี้ไม่ได้ต้องทำสิ่งใดที่เป็นอันตรายต่อตัวผู้เข้าพิธี และตัวผู้ทำ
พิธีรดน้ำสังข์ อีกหนึ่งพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ในขั้นตอนการแต่งงานที่เคียงคู่บ่าวสาวชาวไทยมาอย่างช้านาน เพราะนับเป็นพิธีที่ใช้สิ่งของ อุปกรณ์อันเป็นมงคล เข้ามาร่วมในพิธีหลายอย่าง และรวมไปถึงขั้นตอนที่ละเอียดอ่อนด้วย
พิธีรดน้ำสังข์ คืออะไร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร
พิธีรดน้ำสังข์ คืออะไร มีประวัติความเป็นมาอย่างไรนั้นวันนี้ท่านจะได้ไขข้อข้องใจในหลายคำถามที่ท่านอาจจะไม่เคยได้รับคำตอบอย่างชัดแจ้ง ซึ่งเราจะมาตอบท่านในนี้กัน เริ่มที่ความหมายของพิธีนี้ ที่ใช้สังข์เติมน้ำ และรดลงบนมือของบ่างสาวที่ละคนนั้น สังข์ มาจากพิธีของพราหมณ์ ที่เป็นเครื่องบูชาที่มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างมาก นับเป็นเครื่องของสิริมงคลที่สมควรแค่แก่การนำมาอวยพรคู่บ่าวสาวด้วย ต่อมาน้ำ ให้ความหมายถึง สิ่งที่เป็นความร่มเย็นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวไม่มีจุดสิ้นสุด ซึ่งเหมาะแก่การนำมาอวยพรคู่บ่าวสาวมาก เพราะความหมายที่ดีจะช่วยการเริ่มต้นชีวิตคู่เริ่มที่จุดที่ดีไปด้วยนั่นเอง หลายคนนำน้ำที่เจริญพระพุทธมนต์แล้วมาใช้ในการรดน้ำสังข์ เพื่อความเป็นมงคลยิ่งขึ้นไปด้วย

พิธีรดน้ำสังข์ ต้องทำอย่างไรบ้าง เพื่อสมบรูณ์ตามประเพณี
พิธีรดน้ำสังข์นั้น ท่านจะต้องปฏิบัติตามโบราณกาลนานมา ที่คนรุ่นกลังได้ทำสืบต่อกันมาด้วย ซึ่งสิ่งแรกท่านจะต้องเตรียมอุปกรณ์ก่อนเป็นสิ่งแรก มีด้วยกันดังนี้
- แป้งสีขาว หรือดินสอพอง สำหรับเจิมหน้าผากของคู่บ่าวสาว
- ชุดตั้งโต๊ะ ได้แก่ โต๊ะรองแขน 2 ตัว เก้าอี้นั่ง 2 ตัว พานรับน้ำ 2 พาน และโต๊ะวางอุปกรณ์ 1 ตัว
- พวงมาลัยที่เอาไว้สำหรับคล้องที่มือบ่าวสาว
- มงคลแฝด เพื่อวางที่หัวของบ่าวสาว
- พานดอกไม้สวยงาม เพื่อรองรับน้ำจากสังข์
- ของชำร่วย เพื่อมอบให้แก่ท่านที่มาอวยพร และแสดงความยืนดี
- พานวางหอยสังข์
- สังข์สีขาว ประดับทอง
- น้ำพระพุทธมนต์
- ขันตัก และใส่น้ำ
เมื่อท่านเตรียมอุปกรณ์ครบแล้ว ก็เข้าสู่พิธีการเริ่มเพื่อรดน้ำสังข์ได้เลย โดยเริ่มที่คู่บ่าวสาวจุดธูป เทียนบูชา พระรัตนตรัยเสียก่อนสิ่งแรก เพื่อเคารพสิ่งที่สูงสุดเสียก่อน จากนั้นกลับมานั่งที่เดิม เพื่อรับฟังพระสวดให้พรจนจบ ต่อมาพ่อแม่ หรือญาติที่เคารพ เข้าเจิมหน้าผากของทั้งคู่ พร้อมสวมมงคลแฝดที่หัว
สุดท้ายเรียงลำดับที่ผู้อาวุโส หรือเริ่มที่พ่อแม่ เข้ารดน้ำสังข์ทั้งคู่ จนครบทุกคนต่อไป
เมื่อท่านเข้าสู่พิธีแต่งงาน แน่นอนว่าพิธีรดน้ำสังข์จะเป็นพิธีที่ท่านจะต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นพิธีที่เสริมสร้างพลังใจให้คู่บ่าวสาวไม่น้อยเลย
พิธียกน้ำชา เป็นพิธีที่มีมานาหลายร้อยปี สืบทอดกันมาแบบรุ่นต่อรุ่น ยังใช้ในงานมงคลหลายอย่าง แต่ในปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่งานมงคลที่ยังคงสืบทอดต่อ และพิธีเป็นพิธีสำคัญของชาวจีนที่ทำกันมาอย่างต่อเนื่องด้วย
พิธียกน้ำชา คืออะไร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร
พิธียกน้ำชา คือพิธีที่สำคัญมากอีกพิธีหนึ่งของชาวจีน ที่ร่วมทำ สืบสาน สืบทอดกันมาแบบรุ่นต่อรุ่น ซึ่งพิธีนี้เป็นพิธีที่ใช้ในงานมงคลอย่างงานแต่งงาน จัดขึ้นเพื่อให้คู่บ่าวสาวทั้งสองฝั่งได้ทำความเคารพแก่ญาติผู้ใหญ่ พ่อแม่ ที่มีความสำคัญแก่ครอบครัว รวมไปถึงการทำความรู้จักไปถึงสมาชิกที่มีความสำคัญในครอบครัวของแต่ละฝ่ายไปด้วยในเวลาเดียวกัน พิธียกน้ำชานี้มักจะจัดขึ้นหลังจากที่ไปรับฝ่ายเจ้าสาวมาบ้านฝ่ายชายแล้ว หรือกระทำในบ้านของแต่ละฝ่ายเลยตามวาระโอกาส และความสะดวกของงานที่จัดขึ้น

พิธีการของพิธียกน้ำชา ต้องทำอย่างไร และมีข้อกำหนดอะไรบ้าง
อย่างที่บอกว่าพิธียกน้ำชานี้จัดขึ้นเพื่อให้บ่าวสาวได้ทำความเคารพต่อพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ของแต่ละฝ่ายได้อย่างครบถ้วน รวมถึงการได้ทำความรู้จัก แนะนำคู่ของตนให้ได้เป็นที่รู้จักด้วย หากเปรียบกับพิธีการของไทยเราก็เปรียบได้ดังการรับไหว้ หรือ รดน้ำสังข์ที่ญาติผู้ใหญ่ แขกในงานจะต้องเข้ามารดน้ำเพื่อแสดงความยินดี พิธีการยกน้ำชานี้ก็เช่นเดียวกัน โดยมีขั้นตอนดังนี้
- คู่บ่าวสาวจะทำการยกน้ำชาที่วางข้างตัวเองให้แก่ญาติผู้ใหญ่ดื่ม ตามลำดับ เพื่อให้ญาติผู้ใหญ่ได้กล่าวแสดงความยินดี อวยพรต่าง ๆ แก่ทั้งสองคนได้ ซึ่งพิธีนี้จะต้องเรียงลำดับตามความอาวุโสเข้ามาก่อนหลัง เพื่อให้ความสำคัญแก่ญาติตามความสำคัญ และตามอายุของแต่ละท่านด้วย
- พิธีการยกน้ำชาจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าบ่าวเจ้าสาวไปไหว้ฟ้าดิน ไหว้สิ่งต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วเท่านั้น อุปกรณ์การยกน้ำชา จำพวกกา ถ้วยน้ำชา ฝ่ายเจ้าสาวจะต้องเป็นผู้เตรียมเท่านั้น
พิธียกน้ำชา นับเป็นพิธีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาของคนจีน หรือคนไทยเชื่อสายจีน ที่ยังคงอนุรักษ์ เคารพความเป็นจีนของครอบครัว และวงตระกูลตัวเองอยู่ เพื่อแสดงความเคารพต่อญาติผู้ใหญ่ที่มีพระคุณ นับถือซึ่งกันและกัน พิธีนี้จึงมีความศักดิ์สิทธ์และละเอียดอ่อนทางความรู้สึกมาก เป็นพิธีที่ยังคงความคลั่งและมีมนต์เสน่ห์ไม่เสื่อมคลาย เพราะคนจีนหลายคนเชื่อกันว่า หากเราให้ความเคารพ นอบน้อมต่อผู้ใหญ่และบรรพบุรุษจะช่วยให้เจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน